วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2552

การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนโดยใช้หลัก CSR ตอนที่ 4

เรืองฤทธิ์ ไชยสิงห์ ฝ่ายวิศวกรรมและเทคนิค บริษัท เอส ซี จี ซิเมนต์ จำกัด
ขอบคุณข้อมูลจาก: สารสภาวิศวกร ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมีนาคม-เมษายน 2552

กรณีตัวอย่าง CSR ในไทย

สำหรับกิจกรรม CSR ในประเทศไทยนั้นเริ่มมีความแพร่หลายมีหลายหน่วยงานได้ให้ความสำคัญและนำไปเป็นแนวปฏิบัติเพิ่มมากขึ้นยกตัวอย่าง เช่น

Microsoft ศูนย์คอมพิวเตอร์ชุมชน : สนับสนุนให้ชุมชนสามารถเข้าถึงและใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อประโยชน์ทางการเกษตรได้อย่างสร้างสรรค์ ซึ่งอาจเป็นตลาด IT ใหม่ในอนาคต

SCG (เอส ซี จี หรือเครือซิเมนต์ไทย) : ที่มีอุดมการณ์ในการดำเนินธุรกิจตามหลักการ "คุณภาพและเป็นธรรม" ต่อทุกกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังได้ก่อตั้ง "มูลนิธิซิเมนต์ไทย" เพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่างจริงจังและต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน โดยมุ่งเน้นด้านสิ่งแวดล้อม การศึกษา การพัฒนาชุมชนและสาธารณะประโยชน์

บางจากปิโตรเลียม : ส่งเสริมในด้านการพัฒนาชุมชนโดยใช้ร้านมินิมาร์ทในปั๊มน้ำมัน เป็นสถานที่แสดงสินค้าชุมชน จัดกิจกรรมประกวด "ผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาไทย" ที่ทำขึ้นโดยชาวบ้าน/ภูมิปัญญาชาวบ้าน

ปตท.: ปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ โดยมีพื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งเป็นอีกกิจกรรมที่สำคัญในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับงานพัฒนาพลังงานทางเลือกอื่นๆ

INET OpenCARE ระบบเตือนภัยวิกฤติแบบเปิด: ซึ่งเข้ามาช่วยผสานการสื่อสารข้อมูลวิกฤติระหว่างหน่วยงานรัฐและผู้เกี่ยวข้องหลังเกิดเหตุการณ์สึนามิ โดยเป็นระบบเปิดไม่เสียค่าใช้จ่าย ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของผู้สนใจผ่านทางอินเทอร์เน็ต

จะเห็นได้ว่าเรื่องการทำ CSR นั้นมิได้เป็นเรื่องที่ยากเกินไปสำหรับองค์กรที่ต้องการพัฒนาหรือปรับปรุงรูปแบบการดำเนินงานขององค์กร ให้เป็นที่ยอมรับจากทุกกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะมั่นใจได้ว่าจะสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน อย่างไรก็ดี ในการทำ CSR นั้นเป็นเรื่องที่ไม่สามารถเห็นผลได้ชัดเจนในระยะเวลาอันสั้น ดังนั้น จึงจำเป็นจะต้องผสานประโยชน์ทั้งภายนอกและภายในองค์กรแต่หากองค์กรใดตั้งใจทำ CSR อย่างต่อเนื่องจริงจัง ก็จะทำให้ประชาชนทั่วไปรู้สึกดีและอยากที่จะเลือกใช้สินค้าและบริการขององค์กรนั้นๆ (Brand Royalty) นั่นก็เปรียบเสมือน "License to Operate' ในเชิงสัญลักษณ์ เมื่อประชาชนสนับสนุนองค์กรก็เปรียบเสมือนการอนุญาตให้องค์กรนั้นๆ ดำเนินธุรกิจอยู่ในสังคมได้อย่างยั่งยืน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น