วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2552

การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนโดยใช้หลัก CSR ตอนที่ 3

เรืองฤทธิ์ ไชยสิงห์ ฝ่ายวิศวกรรมและเทคนิค บริษัท เอส ซี จี ซิเมนต์ จำกัด
ขอบคุณข้อมูลจาก: สารสภาวิศวกร ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมีนาคม-เมษายน 2552

CSR ทำอย่างไร

หลักการที่สำคัญในการทำ CSR นั้นควรตั้งอยู่บนหลักการพอประมาณที่ธุรกิจต้องไม่เบียดเบียนตนเอง และขณะเดียวกันต้องไม่เบียดเบียนสังคมที่อยู่ร่วมกัน สำหรับแนวปฏิบัติในเรื่อง CSR นั้น แบ่งเป็น 8 หัวข้อ ได้แก่

1. การกำกับดูแลกิจการที่ดี : การจัดให้มีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย

2. การประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรม : ดำเนินธุรกิจโดยให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ไม่เห็นแก่ผลประโยชน์ที่อาจได้มาจากการดำเนินงานที่ไม่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม

3. การเคารพสิทธิและการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม : ทรัพยากรบุคคลเป็นปัจจัยสำคัญของธุรกิจ ดังนั้น จึงควรส่งเสริมให้พนักงานหรือผู้ปฏิบัติงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ควบคู่ไปกับการยกระดับหรือเพิ่มพูนทักษะในการทำงานให้เพิ่มมากขึ้น

4. ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค : สินค่าและบริการของธุรกิจไม่ควรก่อให้เกิดความเสี่ยงหรืออันตรายต่อผู้บริโภค นอกจากนี้ควรปรับปรุงมาตรฐานสินค้าและการบริการให้มีความเป็นสากล

5. การร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม : ภาคธุรกิจควรมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและสังคมที่อยู่โดยรอบ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน

6. การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม : การจัดให้มีระบบการบริหารงานด้านสิ่งแวดล้อม และควรศึกษาวิเคราะห์ถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบตลอดจนต้องมีการเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง

7. การเผยแพร่นวัตกรรมจากการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม : สามารถนำแนวคิด CSR ไปประยุกต์รวมกับการกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจได้ โดยการพัฒนาความรู้จากประสบการณ์การดำเนินงานด้าน CSR นำมาปรับใช้และคิดค้นให้เกิดนวัตกรรมของธุรกิจ ซึ่งสามารถขยายผลให้กับองค์กรอื่นๆ ได้อีกด้วย

8. การจัดทำรายงานด้านสังคทมและสิ่งแวดล้อม : ธุรกิจควรให้ความสำคัญกับการเปิดเผยข้อมูลที่สะท้อนให้เห็นถึงการปฏิบัติตามแนวทาง

CSR หรือทั่วไปนิยมเรียกว่า รายงานความยั่งยืน (Sustainability report) รวมทั้งจัดให้มีช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลที่หลากหลายเพื่อมั่นใจได้ว่าจะสามารถสื่อข้อมูลกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างทั่วถึง

ติดตามตอนที่ 4 นะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น