วันอาทิตย์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

เรื่องน่ารู้กับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550


ด้วยในปัจจุบันการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์ หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์เข้ามามีบทบาท และความสำคัญต่อชีวิตประจำวัน ในขณะเดียวกันการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มีแนวโน้มขยายวงกว้างและทวีความรุนแรง ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์นับเป็นพยายนหลักฐานที่สำคัญในการดำเนินคดีอันเป็นประโยชน์ต่อการสืบสวน สอบสวน เพื่อนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ ซึ่ง พ.ร.บ. ฉบับนี้มีผลบังคับใช้นับตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2550 ที่ผ่านมา

ในฐานะผู้ใช้บริการตาม พ.ร.บ.นี้ ทุกครั้งที่ท่าน รับ-ส่ง อีเมล์ กรุณาใช้วิจารณญาณด้วยว่า ข้อความ หรือ ภาพ นั้น จะเท็จ จะจริง หรือไม่? อาจเป็นข้อมูลที่เข้าข่ายประเด็นใดประเด็นหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) อาจก่อความเสียหายให้ ผู้หนึ่งผู้ใดหรือไม่
(2) อาจสร้างความตื่นตระหนก ตกใจกลัว แก่คนทั่วไปหรือไม่
(3) อาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ สถาบัน หรือเป็นความผิดด้านการก่อการร้าย หรือไม่ และ
(4) มีเนื้อหา ภาพ อันเป็นลามก หรือไม่ หากท่านคิดว่าใช้และได้เผยแพร่ ส่งต่อ (Forward) ไปยังพรรพวก เพื่อนฝูง ญาติมิตร ด้วยกลัวว่า บุคคลเหล่านั้น อาจตกข่าวและท่านเองอาจคิดภูมิใจ ไปว่า เป็นคนแรกๆ ที่รู้ข่าว และเอื้อเฟื้อต่อญาติมตรสหาย หรือท่านอาจนำ ข้อความ หรือ ภาพ ที่ได้รับมานั้น นำไปเผยแพร่ ลงใน เว็บบอร์ด ในเว็บไซต์ต่างๆ นั้น......... ท่านอาจต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 14 ของกฎหมายฉบับนี้

นอกจากนี้ มาตรา 11 ระบุว่า ผู้ใดส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โดยปกปิดหรือปลอมแปลงแห่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว (Spam mail) อันเป็นการรบกวนการใช้คอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่น ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1 แสนบาท ซึ่งไม่จำกัดเฉพาะเผยแพร่จากคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่รวมถึงการส่งผ่านโทรศัพท์มือถือด้วย ซึ่งมีบทลงโทษกำหนดไว้ตั้งแต่มาตรา 5 ถึงมาตรา 16 (สรุปไว้ในตารางมุมล่างนี้)

ดังนั้น ทุกท่านขอให้ใช้บริการต่างๆ บนอินเตอร์ด้วยความระมัดระวัง และความรัดกุมในการใช้งาน และมีความเข้าใจในวิธีการป้องกันตนเอง จากการถูกโจมตีโดยกระบวนการทางคอมพิวเตอร์ หรือถูกผู้ร้ายแอบอ้างเป็นตัวท่านในกรณีที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น

ฐานความผิด/โทษจำคุก/โทษปรับ
มาตรา 5 เข้าถึงคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ/ไม่เกิน 6 เดือน/ไม่เกิน 10,000 บาท
มาตรา 6 ล่วงรู้มาตรการป้องกัน/ไม่เกิน 1 ปี/ไม่เกิน 20,000 บาท
มาตรา 7 เข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ/ไม่เกิน 2 ปี/ไม่เกิน 40,000 บาท
มาตรา 8 การดักข้อมูลคอมพิวเตอร์/ไม่เกิน 3 ปี/ไม่เกิน 60,000 บาท
มาตรา 9 การรบกวนข้อมูลคอมพิวเตอร์/ไม่เกิน 4 ปี/ไม่เกิน 100,000 บาท
มาตรา 10 การรบกวนระบบคอมพิวเตอร์/ไม่เกิน 5 ปี/ไม่เกิน 100,000 บาท
มาตรา 11 สแปมเมล์/ไม่มี/ไม่เกิน 100,000 บาท
มาตรา 12 การกระทำต่อความมั่นคง
(1) ก่อความเสียหายแก้ข้อมูลคอมพิวเตอร์/ไม่เกิน 10 ปี/ไม่เกิน 200,000 บาท
(2) กระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของปะรเทศ/เศรษฐกิจ/3 ปี ถึง 14 ปี /60,000-30,000 บาท
วรรคท้าย เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ชีวิต/10 ปี ถึง 20 ปี/ไม่มี
มาตรา 13 การจำหน่าย/เผยแพร่ชุดคำสั่ง/ไม่เกิน 1 ปี/ไม่เกิน 20,000 บาท
มาตรา 14 การเผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสม/ไม่เกิน 5 ปี/ไม่เกิน 100,000 บาท
มาตรา 15 ความรับผิดของ ISP/ไม่เกิน 5 ปี/ไม่เกิน 100,000 บาท
มาตรา 16 การตัดต่อภาพผู้อื่น ถ้าสุจริตไม่มีความผิด/ไม่เกิน 3 ปี/ไม่เกิน 60,000 บาท

-นิยามศัพท์
"ระบบคอมพิวเตอร์" หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกันโดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ

"ข้อมูลคอมพิวเตอร์" หมายความว่าข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้ความหมายรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย

"ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์" หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการ หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น